บทพิสูจน์นายกรัฐมนตรีคนใหม่ แพทองธาร ว่าจะเป็นหุ่นเชิดหรือตัวประกันทางการเมือง
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และ Josh Kurlantzick ร่วมเขียนนบทความนี้ มองถึงบทบาทของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย แพทองธาร ชินวัตร ว่าจะนำพาประเทศไทยออกจากวิกฤตการเมืองได้หรือไม่
August 27, 2024
โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต และ Josh Kurlantzick จาก Council on Foreign Relations
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทยคือสมาชิกของตระกูลชินวัตร หนึ่งในตระกูลการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในไทย
แม้ว่าสมาชิกตระกูลชินวัตรคนล่าสุดจะเป็นคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการรัฐบาล และมีเพียงประสบการณ์บริหารโรงแรม แต่เขาก็ได้ขึ้นไปเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้อดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินหลุดออกจากตำแหน่งนายก เพราะว่าเขาแต่ตั้งคนที่ไม่มีความซื่อสัตย์ สุจริตอย่างเป็นที่ประจักษ์ พรรคเพื่อไทยก็ได้แต่งตั้งแพทองธาร ชินวัตรลูกสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตรผู้อยู่เบื้องหลังการเมืองไทยมาอย่างยาวนานขึ้นสู่อำนาจได็ได
แพทองธาร ชินวัตรได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากชัยชนะอย่างล้นหลามจากพรรคร่วมรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร การขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทย ส่วนผู้หญิงอีกคนคืออาของเธอ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คนที่เป็นน้องสาวคนสุดท้องของทักษิณ ยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 2011 ก่อนที่จะถูกโค่นลงจากอำนาจด้วยการรัฐประหารในปีค.ศ. 2014
ตระกูลชินวัตรยังคงอิทธิพลต่อการเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาสะท้อนว่าอิทธิพลของพวกเขาไม่เคยหายไป แม้ว่าจะถูกรัฐประหารหรือวิธีใดก็ตามที่พยายามทำให้พวกเขาออกจากอำนาจ ตระกูลการเมืองไม่เคยเป็นเรื่องที่ล้าสมัยทั้งในการเมืองไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างกัมพูชาและฟิลิปปินส์เองก็เป็นลูกของอดีตผู้นำ ลูกชายอดีตประธานาธิบดีโจโกวิโดโด กีบราน ราคาบูมิง รากาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานาธิบดี หลังจากชนะการเลือกตั้งคู่กับประธานาธิบดี ปราโบโว ซูเบียนโต การที่เขาได้ลงแข่งรองประธานาธิบดี เพราะว่าลุงของประธานาธิบดีวิโดโดคุมศาลสูงสุดของอินโดนีเซียอยู่ เขาตัดสินให้สามารถลดอายุของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่กล่าวมา ตระกูลการเมืองของประเทศไทยดูเหมือนว่าจะเป็นการขยายอิทธิพลของตระกูลการเมืองและรักษาความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในทางการเมือง ซึ่งสิ่งนี้ไม่ค่อยนำไปสู่การส่งเสริมประชาธิปไตย
Top of Formในกรณีของประเทศไทย การกลับเข้ามาสู่วงอำนาจของตระกูลชินวัตรดูเหมือนว่าจะไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตย หรือรับประกันเสถียรภาพทางการเมือง เพราะว่าในอดีตตระกูลชินวัตรคนอื่นอย่างทักษิณและยิ่งลักษณ์ที่อยู่ในอำนาจก็ถูกบีบให้ต้องหนีออกนอกประเทศหลังจากการรัฐประหาร การที่ทักษิณได้กลับประเทศเมื่อปีที่แล้วและได้สานสัมพันธ์กับชนชั้นนำอนุรักษนิยมและกษัตริย์นิยม เนื่องจากการเกิดขึ้นมาของพรรคก้าวไกลที่เป็นภัยคุกคามใหม่ของเครือข่ายชนชั้นนำ เนื่องจากมีจุดยืนที่ก้าวหน้ากว่าพรรคเพื่อไทย หรือในอีกทางคือ ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมมองว่าวพรรคก้าวไกลเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนำมากกว่าทักษิณ ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมใช้ทักษิณและพรรคเพื่อไทยเพื่อจัดการกับพรรคก้าวไกลด้วยการให้แยกพรรคพันธมิตรฝ่ายประชาธิปไตยออกจากกัน ไม่ให้ก้าวไกลและเพื่อไทยตั้งรัฐบาลร่วมกัน ทักษิณเองก็ใช้ความกลัวของกลุ่มอำนาจเก่าที่มีต่อพรรคก้าวไกลเพื่อกดดันให้เขาได้กลับบ้าน ส่วนพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งสูงสุดในสภาผู้แทนราษฎรก็ถูกยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการบริหารพรรคก็ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี นี่คือตัวเองของการที่ศาลของฝ่ายอำนาจเก่าทำลายพรรคที่สนับสนุนการปฏิรูปการเมือง
แพทองธาร ซึ่งไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองจะกลายเป็นหุ่นเชิดของพ่อของเขาและชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ทักษิณกับชนชั้นนำก็ยังไม่ได้ไว้วางใจกันอย่างเต็มที่ ทักษิณยังถูกสั่งฟ้องด้วยกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ นี่คือตัวอย่างที่ชัดอย่างที่ชัดเจนของความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นของทักษิณกับกษัตริย์ วชิราลงกรณ์ ผู้ที่ยังมีอำนาจสูงสุดในการเมืองไทย แม้ว่าจะเขาจะถูกกลุ่มเยาวชนจำนวนมากคาดว่าให้เขาลดบทบาททางการเมืองให้เหมือนกับกษัตริย์ในญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตาม กษัตริย์แทบจะเป็นคนที่สุดที่จะอนุมัติว่าทักษิณจะได้กลับประเทศหรือไม่ ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมยังคงให้อำนาจแก่กษัตริย์ แม้ว่ากษัตริย์องค์นี้จะแทรกแซงทางการเมืองมากกว่าที่พ่อของเขาเคยทำ และเขาเองก็ไม่ได้เสน่ห์ หรือการสนับสนุนจากมวลชนมากเท่าที่พ่อเขามีตลอด 60 ปี แน่นอนว่าอำนาจมากล้นของกษัตริย์เช่นนี้ไม่เป็นไปตามระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ทักษิณได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมืองแม้ว่าเขาจะบอกก่อนหน้าว่าเขาจะเกษียณและไปเลี้ยงหลาน เขาไปเยือนหลายเขตเลือกตั้งเพื่อที่จะกลับมาเชื่อมสัมพันธ์กับโหวตเตอร์ของพรรคเขาในพื้นที่ห่างไกล ช่วงต้นเดือนสิงหาคม เขาได้ไปพูดที่งาน “Dinner talk with Thaksin” ในพื้นที่หรูหราที่ผู้มีอำนาจหลายคนในประเทศมาเข้าร่วม เช่น ธนินท์ เจียรวนนท์ กรรมการอาวุโสของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หนึ่งในบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศไทย ในงานนี้ทักษิณได้แสดงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยอนาคตโดยเฉพาะประเด็นด้านเศรษฐกิจ เขาทำราวกับว่าเขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ดังนั้น ความอยู่รอดของแพทองธารจะขึ้นอยู่กับว่า เขาจะทำตามความต้องการของเครือข่ายชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม หรือจะเพื่อทำตามคำแนะนำของพ่อตัวเอง และสิ่งนี้อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ถ้าหากว่าสองฝ่ายนี้ไม่เชื่อใจกัน ไม่ว่าจะตัดสินใจไปในทางใด มันก็ไม่ได้สะท้อนว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะมีอิสระและมีศักยภาพจะตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง มันบอกได้ว่านายกคนนี้มีอิสระในตัวเองน้อยกว่านายกยิ่งลักษณ์เสียอีก เพราะขนาดยิ่งลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับทักษิณโดยตรงก็ยังมีอำนาจตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ หลายเรื่อง เช่น ความพยายามเขาไปแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ซึ่งทักษิณเคยดูแลจนเกิดปัญหาความรุนแรงต่อการก่อความไม่สงบ ในบางครั้ง ทักษิณก็เป็นตัวประกัน เพราะเขาติดหนี้ชนชั้นนำที่ยอมให้อิสรภาพทางการเมืองแก่เขา ชนชั้นนำยังต้องพึ่งพาเขาให้นำพาพรรคเพื่อไทยและลูกสาวของเขาขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ดังนั้น ทักษิณมีแนวโน้มจะบอกให้ลูกพยายามอยู่ให้ฟังชนชั้นนำเพื่อความอยู่นรอดของรัฐบาล
การที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นเสมือนกระบอกเสียงให้ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมย่อมหมายความว่า ประเทศไทยจะหลีกเลี่ยงการถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญที่ทำให้พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และกลายเป็นภาพนิยมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ มันเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าแพทองธารจะพูดถึงประเด็นอ่อนไหว เช่น การปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งห้าไม่ให้มีการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กองทัพและอำนาจตุลาการ ปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญคือ การที่สถาบันกษัตริย์ยังมีอำนาจในการควบคุมการเมืองไทยพร้อมกับแรงสนับสนุนของสถาบันอื่น เช่น ตุลาการ ซึ่งใช้สงครามทางกฎหมายต่อตัวแสดงใดก็ตามที่เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์, ผลประโยชน์ของชนชั้นนำ, และพันธมิตรของพวกเขาในขอบเขตที่พวกเขาเกี่ยวข้อง
เช่น ทักษิณหลีกเลี่ยงจากการพูดถึงประเด็นอ่อนไหวในช่วงงาน Dinner talk บทสนทนาของเขาดูไร้ชีวิตชีวาและไม่สามารถปลุกเร้าคนรุ่นใหม่ แพทองธารจะเดินตามรอยเท้าพ่อของเธอโดยที่พยายามไม่ไปรบขัดความต้องการของชนชั้นนำฝั่งอนุรักษ์นิยม ความเป็นผู้นำของแพทองธารมีแนวโน้มจะพยายามรักษาสถานะทางการเมืองแบบเดิม ซึ่งเป็นการเมืองที่ไร้เสถียรภาพ เพราะทั้งฝั่งชินวัตรและชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมก็ไม่ได้ไว้ใจกันทั้งสองฝ่าย
Read in English here: https://www.cfr.org/blog/paethongtarn-shinawatra-thailands-new-prime-minister-demonstrates-excessive-power-king-and