112Watch information in depth

อะไรคือกฎหมายอาญามาตรา 112

การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือความผิดเกี่ยวกับการสร้างความเสียหายต่อราชวงศ์ ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งระบุว่า การแสดงความเห็นที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือข่มขู่ แก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีโทษจำคุก 3 ถึง 15 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง และถูกใช้เพื่อโจมตีใครก็ตามที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน  นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงความอยุติธรรมที่เกิดจากรัฐบาลไทยในการปกป้องการใช้กฎหมายดังกล่าว

“มาตรา 112 ถูกใช้เพื่อลงโทษการกระทำหลายอย่างโดยไร้ซึ่งขอบเขตที่ชัดเจน นำมาซึ่งบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวที่ปกคลุมสังคมไทย”

October 2020: Peaceful anti-government protestors being addressed in central Bangkok. Photo: Sumeth anu / Shutterstock.com
October 2020: Peaceful anti-government protestors being addressed in central Bangkok. Photo: Sumeth anu / Shutterstock.com

การสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรา 112

ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112

ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112

 

  • อัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี นั้นสูงเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับความผิดจากการเตรียมก่อการจลาจล ฆาตกรรม หรือการลักพาตัวผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า15 ปี
  • อัตราโทษขั้นต่ำ 3 ปีก็ยังถือว่าสูงเกินไปเช่นกัน แม้ว่าคดีจะดูเล็กน้อยเพียงใด แต่ศาลก็ไม่มีดุลยพินิจที่จะเว้นโทษแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำที่สุด
  • มีการตีความที่คลุมเครือมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำว่า "ดูหมิ่น" ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางครอบคลุมการกระทำหรือการแสดงออกอันหลากหลาย
  • กฎหมายอาญามาตรา112 คุ้มครองผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ แม้ว่า ความเสียหายที่เกิดกับพระมหากษัตริย์จะรุนแรงกว่าความเสียหายที่เกิดกับบุคคลอื่นๆ
  • กฎหมายอาญามาตรา112 อยู่ใน “หมวด 1” ว่าด้วย “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร” ดังนั้น การตีความและการบังคับใช้สามารถอ้างถึงเพื่อประโยชน์ ในการรักษาความมั่นคงของชาติและที่จะสร้างความเสียหายให้กับจำเลย

การตีความมาตรา 122

 ตามความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112  จะต้องอยู่ในฐานการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และข่มขู่ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ซึ่งรวมถึงกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว กฎหมายอาญามาตรา112  สามารถตีความได้ในหลายๆ ทางเพื่อให้ครอบคลุมการกระทำมากขึ้น จากการอ้างอิงคำพิพากษาของศาลฎีกาในกรณีคดีของนายณัชกิจ ศาลตีความว่า การกล่าวถึงในหลวงรัชกาลที่ 4 ก็ยังนับเป็นความผิด, หรือแม้แต่ในคดีของนายนพฤทธิ์ ที่ถูกกล่าวหาว่าปลอมเอกสารอ้าง ว่าเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็นับเป็นความผิดเช่นกัน และสุดท้าย คดีของนายธนกร ถูกดำเนินคดีข้อหาเพียงเพราะกดไลค์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสุนัขหลวง “(คุณ)ทองแดง” ซึ่งการดำเนินคดีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจขอบเขตของกฎหมายได้ยากมากขึ้น

ตัวอย่างคดีต่างๆ

ในกรณีส่วนใหญ่ ศาลยุติธรรมมักกำหนดโทษให้มีความผิดกรรมละ 5 ปี เช่น คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข ดารณี (ดา ตอร์ปิโด) และอำพน ตั้งนพคุณ (อากง)

แต่ในหลายๆ กรณี ศาลเลือกที่จะกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงกว่านั้นมาก เช่น กรณีคดีนายปิยะ จุลกิตติพันธุ์ ที่ถูกตัดสินจำคุก 9 ปี จากการแสดงความคิดเห็นในเฟสบุ๊คที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ กรณีคดีนายชาญวิทย์ ที่ถูกตัดสินจำคุก 6 ปีในข้อหาแจกจ่ายใบปลิวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกรณีคดีผู้ขายหนังสือแปเรื่อง “The Devil's Discus: An Inquiry to the death of Ananda, King of Siam'' หรือ กงจักรปีศาจ ที่ถูกพิพากษาจำคุก 3 ปี

ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ศาลทหารมักกำหนดโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี เช่น กรณีคดีนายหัสดิน อุไรไพรวัลย์ และอีก 9 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าผลิตคลิปเสียง “บรรพต” ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์จักรี กรณีคดีนายพงศ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง เธียรสุธรรม และสุทธิจิตเศรณี ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ทางเฟซบุ๊ค และกรณีคดีนายสมัคร พันเต ที่ถูกดำเนินคดีจากการสร้างความเสียหายแก่รูปพระมหากษัตริย์และพระราชินี

ในขณะเดียวกัน ศาลเองอาจกำหนดโทษที่หนักกว่าหรือเบากว่า เช่น กรณีคดีนางศศิวิมล ที่ถูกพิพากษาจำคุก 8 ปี ฐานแสดงความเห็นดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ กรณีคดีนายนิรันดร์ที่ถูกพิพากษาจำคุก 5 ปี เนื่องจากได้เผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอม และกรณีคดีนายโอภาส จันทร์สุขใส ที่เขียนกราฟิตีดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ซึ่งถูกพิพากษาจำคุก 3 ปี

เราสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ได้มากเพียงใด?

จากบทบัญญัติทางกฎหมายอาญามาตรา112  ได้ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทั้ง 4 เท่านั้น โดยมิได้ครอบคลุมถึง “สถาบันพระมหากษัตริย์” ทั้งหมด ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบัน จึงควรทำได้โดย ไม่ได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนสมาชิกราขวงศ์คนอื่นๆ องคมนตรี ผู้ทำงานใกล้ชิดกับสมาชิกราขวงศ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโครงการหลวงต่างๆนั้ น ไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามบทบัญญัติทางกฎหมายดังกล่าว จึงทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น ควรทำได้โดยปราศจากการแสดงท่าทางที่ทำให้เสื่อมเสีย ดูหมิ่น หรือข่มขู่พวกเขา แต่ด้วยสภาพบรรยากาศทั่วไปของสังคมและการเมืองไทย การตีความกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินขอบเขตตามบทบัญญติไป ทำให้ขอบเขตของการแสดงออกที่พอจะทำได้ของประชาชนนั้นอยู่ในความเสี่ยงและไม่ชัดเจน

ผลกระทบต่อสังคม

กฎหมายอาญามาตรา112 ถูกใช้ฟ้องร้องเพื่อทำลายอริทางการเมืองอย่างเสมอมา และมันยังถูกใช้โดยทุกฝ่ายทางการเมือง แต่เป้าหมายไม่ใช่แค่กลุ่มการเมืองเท่านั้น ผู้คนจำนวนมากถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 112  ด้วยอัตราโทษที่รุนแรง ประกอบกับขั้นตอนการพิจารณาคดี โดยที่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัว โดยที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีอย่างลับๆ ซึ่งได้ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว ความกลัวดังกล่าวได้ครอบงำทั้งสังคม กับความคิดที่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นไม่สามารถแตะต้อง หรือแม้แต่จะพูดถึง (ในแง่ลบ) ได้ และทำให้ประชาชนคิดว่า พวกเขาควรจะต้องเซ็นเซอร์ตนเอง (self-censorship) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุดในการอภิปรายประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งระหว่างการสื่อสารส่วนตัวและการสื่อสารในที่สาธารณะ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้เอง ส่งผลกระทบต่อความรู้ และความเข้าใจของคนไทยอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ เนื่องจากกฎหมายอาญามาตรา 112  ได้ถูกนำมาใช้ในการก่ออาชญากรรมร้ายแรง จึงถูกใช้ในทางที่ผิดเพื่อแก้แค้นกัน แม้กระทั่งในกลุ่มที่อยู่ในครอบครัวกัน เช่น กรณีของพี่ชายที่ฟ้องร้องน้องชายของตัวเองในชั้นศาล โดยกล่าวหาว่าน้องชายของเขาแสดงความเห็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกรณีที่มีการสร้างเพจ เฟซบุ๊คปลอมขึ้นเพื่อตอบโต้ผู้อื่นที่กล่าวหาว่ากระทำความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันเนื่องมาจากความบาดหมางส่วนตัว เช่น กรณีคดีของนางศศิวิมล

ผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการดำเนินคดี และข่าวที่เกี่ยวกับประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจำนวนมากตามกฎหมายอาญามาตรา 112 ประกอบกับการที่พวกเขาถูกตัดสินลงโทษด้วยบทลงโทษที่รุนแรง การกระทำดังกล่าวจึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการใช้กฎหมายเพื่อยับยั้งเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน บางครั้งมันได้ส่งผลในทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ในประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกด้านลบที่พวกเขามีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่งที่ จะหารือในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย สถาบันพระมหากษัตริย์จึงห่างไกลจากความรู้ความเข้าใจของประชาชนธรรมดา อีกทั้งยังไม่รับผิดชอบและไม่ปรับตัวให้เข้ากับโลกสมัยใหม่

Bangkok, October 2020. A pro-democracy march during a Thai anti-government protest on the 47th anniversary of the 1973 student uprising. Photo: Adirach Toumlamoon / Shutterstock.com
Bangkok, October 2020. A pro-democracy march during a Thai anti-government protest on the 47th anniversary of the 1973 student uprising. Photo: Adirach Toumlamoon / Shutterstock.com

ข้อเสนอแนะ

112WATCH ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง

  1. ไม่กำหนดให้กฎหมายอาญามาตรา 112 รวมอยู่ใน “หมวดที่ 1” ว่าด้วย “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร”
  2. เพิ่มเติม “ความผิดที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นกษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ให้อยู่ในหมวดอื่น
  3. แยกการคุ้มครองระหว่างพระมหากษัตริย์และบุคคลอื่นๆ รวมทั้งพระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  4. เปลี่ยนแปลงอัตราโทษกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยยกเลิกบทลงโทษขั้นต่ำและกำหนดโทษสูงสุดเป็น 3 ปี และให้แยกระหว่างหมิ่นประมาทสามัญกับการหมิ่นกษัตริย์
  5. เพื่อเป็นการปกป้องหากวิจารณ์โดยสุจริต
  6. เพื่อรวมเป็นข้อต่อสู้หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่กล่าวเป็นความจริง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ
  7. ห้ามบุคคลใดนำข้อกล่าวหาดังกล่าวมาสู่บุคคลอื่น และสถานภาพทางกฎหมายควรจำกัดเฉพาะสำนักพระราชวังเท่านั้น

ประชาคมระหว่างประเทศสามารถมีบทบาทสำคัญในการกดดันรัฐบาลไทยให้พิจารณาปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างจริงจัง เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนไทย ตลอดจน สิ่งดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบของประเทศไทยในการสนับสนุนญัตติสิทธิมนุษยชนโลก

การแก้ไขที่เสนอสำหรับกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นไปได้อย่างไร

หลังจากการแก้ไขครั้งล่าสุดโดยปฏิญญาคณะปฏิวัติในปี 2519 กฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยไม่ว่าจะอยู่ในยุครัฐบาลใดก็ตาม

เดือนพฤษภาคม 2555 ประชาชนมากกว่า 10,000 คนลงนามในคำร้องเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ แต่แล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรานนท์ เห็นว่าข้อเสนอแก้ไขนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงถือว่าร่างแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนจะเสนอ

หมายเหตุ: 112Watch ขอขอบคุณทาง iLaw สำหรับข้อมูลตรงส่วนนี้

 

Site artwork by PrachathipaType

Contact Us  |  © 2022, 112Watch | Privacy Policy

Scroll to Top