ความอยุติธรรมที่เกิดจากมาตรา 112 ต้องยุติ 112Watch เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการใช้มาตรา 112
ภารกิจหลัก
112Watch คือการรวมตัวของผู้คนและองค์กรที่ให้คุณค่าต่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย 112Watch มีจุดมุ่งหมายในการเรียกร้องให้มีการยุติการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของไทยเพื่อเป็นการลงโทษหรือปิดปากประชาชน
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 130 คนถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการใช้กฎหมายนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2563-2564 ที่มีการประท้วงในไทย แกนนำผู้ประท้วงหลายคนถูกคุกคามทางด้านกฎหมาย บางคนต้องถูกนำเข้ากระบวนการยุติธรรมนับครั้งไม่ถ้วน และบางคนอาจต้องถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลากว่า 100 ปี สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แย่ลงเรื่อยๆ
ในเดือนกันยายน 2564 ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์แห่งศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้เริ่มโครงการใหม่ ที่มีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมกลุ่มคน/องค์กรที่มีความคิดใกล้เคียงกัน ที่เห็นพ้องว่า กฎหมายมาตรา 112 จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปหรือยกเลิก โดยปวินเองก็ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเขาวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ภายหลังจากการทำรัฐประหารในปี 2557 คณะรัฐประหารได้เรียกตัวปวินไปเพื่อ “ปรับทัศนคติ” ซึ่งเขาได้ปฏิเสธ โดยผลที่ตามมาก็คือ เขาได้รับหมายจับ และในที่สุดหนังสือเดินทางของเขาก็ถูกยกเลิก ทำให้เขาต้องร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งปวินนั้นยังได้ถูกฟ้องร้องด้วยมาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์จากสาเหตุที่เขาได้สร้างกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสในเฟซบุ๊ค ที่กลายมาเป็นพื้นที่การถกเถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย โดยกลุ่มนี้ถูกสร้างขึ้นในเดือนกันยายน 2563 และปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 2.4 ล้านคน (สถานะเดือนธันวาคม 2564) ในความเป็นจริง ปวินได้จัดตั้งกลุ่มนี้ครั้งแรก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 โดยหลังจากก่อตั้งได้ 4 เดือนและมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน รัฐบาลไทยได้สร้างแรงกดดันต่อเฟซบุ๊คให้สกัดการเข้าถึงกลุ่มนี้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลให้บริษัทเฟซบุ๊คทำตามที่รัฐบาลไทยร้องขอ
มาตรา 112 ละเมิดเสรีภาพในการพูด
หลังรัฐประหารปี 2549 ที่โค่นล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวยังกลายเป็นอาวุธทางเลือกในการทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง แต่เมื่อวิกฤตการเมืองของไทยรุนแรงขึ้น ก็มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถี่มากขึ้น และกลายเป็นประเด็นถกเถียงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ในปี 2554 ปวินได้ออกแคมเปญทั่วประเทศเพื่อปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นผลมาจากการที่รัฐไทยดำเนิน “คดีอากง” และถึงแม้เวลาจะผ่านไปสิบปีแล้ว สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็ยังไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย อีกทั้งการรัฐประหารในปี 2557 ที่โค่นล้มรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ ชินวัตร กลับยิ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแย่ลงไปอีก ถึงแม้ในช่วงต้นรัชกาลที่ 10 กษัตริย์วชิราลงกรณ์ดูเหมือนต้องการจะปกป้องภาพลักษณ์ของตัวเอง โดยระงับการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในช่วงปลายปี 2560 แต่อย่างที่ทุกคนเห็นได้ชัด มีการนำกฎหมายดังกล่าวกลับมาใช้ในปลายปี 2563 โดยมีความจงใจที่จะใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยรัฐไทย (โดยเฉพาะส่วนวัง) เพื่อปิดปากกลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ การกลั่นแกล้งประชาชนโดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงไม่สิ้นสุด ซึ่งมีกระทบโดยตรงต่อถานการณ์สิทธิมนุษยชน ขณะนี้ได้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ จัดการกับปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทยอย่างจริงจัง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว โครงการ 112WATCH จึงถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ในการสร้างความตื่นตัว โดยจะพุ่งเป้าไปที่ชุมชนทางการทูตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรสหประชาชาติ (UN) ณ นครนิวยอร์ค ประชาคมสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ในเจนีวา เพื่อสร้างฉันทามติในการจัดการกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย
วัตถุประสงค์หลักของ 112Watch
คือเพื่อสร้างแนวร่วมสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในเชิงบวกเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทย
เป้าหมายคือการสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆ ในระดับนานาชาติ ที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในการพูด โดยการสร้างเครือข่ายนั้นมีความสำคัญ ในการหาค้นหาบุคคลหรือองค์กรที่เห็นด้วยกับโครงการ 112WATCH ที่ให้ความสำคัญในการแก้ ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ/สหภาพยุโรป
การสร้างเครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้เราสามารถค้นหาบุคคลหรือองค์กรที่เห็นความสำคัญในการการแก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 ของประเทศไทย และการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มคนหรือองค์กรเหล่านั้นยังหมายถึงความพยายามในการ "ทำความรู้จัก" กับ sponsors/champions เหล่านั้น ในการสร้างความไว้วางใจ แบ่งปันความรู้ความเข้าใจ รวมถึง ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ภารกิจนี้คือการทำงานร่วมกับ sponsors/champions ทางด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหากฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทย การงานร่วมกันเช่นนี้ จะช่วยผลักดันให้ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ภายใต้ภายการจับตามองจากทั่วโลก โดยเป้าหมายก็คือ การหาแนวร่วมสนับสนุนจาก sponsors/champions เหล่านี้ ในการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย
ในขณะที่สังคมโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มากเกินไป โดยสะท้อนให้เห็นจาก คำแถลงของที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ นาย Jake Sullivan (ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564) แต่ก็ยังมีการดำเนินการเพียงเล็กน้อยจากสหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยดีขึ้น แต่ในทางตรงข้าม รัฐบาลไทยกลับประสบความสำเร็จในการอธิบายความจำเป็นในการรักษา/ปกป้องกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยอ้างว่าเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ นั่นหมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
กระบวนการนี้เรียกว่า “การสร้างพันธมิตร (แนวร่วม)” เพื่อค้นหาฉันทามติของความจำเป็นเร่งด่วน ในการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยฉันทามตินี้ เกิดมาจากความเห็นที่ตรงกันที่ว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างอำเภอใจ และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อหลักนิติธรรมในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนการแสดงออกขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งนี้ sponsors/champions เหล่านี้ทั้งที่อยู่ในกรอบของ UN/EU จะต้องได้รับแจ้งถึงข้อมูลที่ถูกต้องถึงสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 กลยุทธ์การดำเนินคดีของรัฐไทย และความร่วมมือระหว่างรัฐไทยกับโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ขัดขวางเสรีภาพในการพูด
องค์กรที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมกับโครงการ 112WATCH อาทิ
- องค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิมนุษยชนในกรอบองค์กาสหประชาชาติ ได้แก่ :
- Special Rapporteur ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
- Special Rapporteur ด้านสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและสันติภาพ
- คณะทำงานเกี่ยวกับการการกักขังอย่างพลการ
- Special Rapporteur ด้านสถานการณ์การปกป้องนักสิทธิมนุษยชน
- สมาชิกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
- คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
- เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (OHCHR)
- ประเทศที่ส่งข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนในไทยในระหว่างการพิจารณา UPR รอบที่สอง รวมถึงเอกอัครราชทูตถาวรแห่งองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ที่แนะนำให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
- คณะผู้แทนสหภาพยุโรปเพื่อความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) รวมถึงสมาชิกรัฐสภายุโรป 51 ประเทศ
- องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างประเทศ
ในการประสานงานอย่างแข็งขันกับ sponsors/champions เรามุ่งมั่นที่จะสร้างเครือข่ายที่ ส่งเสริมการพบปะกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ จัดวานสัมมนา และเข้าร่วมในการประชุมด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบของสหประชาชาติและสหภาพยุโรป ในขณะนี้ 112Watch กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การ Destination Justice ในปารีส และกับองค์การภาคประชาสังคมที่ส่งเสริมให้มีการแก้ไข/ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 อาทิ iLaw และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน