ภารกิจที่ทำอยู่
ร่วมมือกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ
ช่วงก่อนการจัดตั้ง 112Watch ปวินมีส่วนร่วมกับ OHCHR ในสองกิจกรรม เพื่อตอบรับการเรียกร้องของ OHCRR เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยปวินส่งรายงานทั้งสองฉบับดังรายละเอียดอยู่ด้านล่าง
ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักข่าวและประเด็นปัญหาวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลต่อสำนักงานของ OHCHR-United Nations ในกรุงเจนีวาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564
ปวินเขียนรายงานนี้จากสถานะต่างๆ อาทิ ในฐานะผู้ก่อตั้งและแอดมินของกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสในเฟซบุ๊ค และรวมทั้ง ในฐานะเหยื่อของรัฐไทยที่ถูกกล่าวหาว่าก่อ “อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต” ภายใต้ระบอบการปกครองปัจจุบันของนายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับ The General Assembly resolution 74/157 เรื่อง “ความปลอดภัยของนักข่าวและประเด็นปัญหาวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล” กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการทำงานของนักข่าวหญิงภายใต้การคุกคามของระบอบการปกครองของไทย
https://www.ohchr.org/EN/Issues/SafetyOfJournalists/Pages/index.aspx
นี่คือชุดคำถามเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเหล่านี้:
- คุณได้สังเกตหรือคุณรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตดังกล่าวที่มีผลกระทบต่อ การชุมนุมและสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในด้านใดบ้าง?
- คุณสังเกตเห็นมาตรการของรัฐประเภทใดหรือคุณมีความรู้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว ที่มีผลกระทบต่อการชุมนุมและสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ หรือไม่?
- คุณสังเกตในลักษณะใดหรือคุณมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ท่ามกลางสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ถูกละเมิดในบริบทดังกล่าว หรือคุณคิดว่าอาจถูกละเมิดสิทธิ
- แนวปฏิบัติที่ดีหรือมีแนวโน้มที่ดีที่อยู่ด้านใดที่คุณสังเกตเห็นหรือคิดว่าอาจเป็นไปได้ที่จะช่วยให้มั่นใจ ว่าสิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ ท่ามกลางสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการเคารพ คุ้มครอง และ/หรือบรรลุผลในบริบทวิกฤตดังกล่าว ?
โดยปวินได้ส่งรายรายงานนี้ให้กับสหประชาชาติในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564
https://www.ohchr.org/EN/Issues/AssemblyAssociation/Pages/DigitalAge.aspx
ปวินได้เขียนรายงานตามที่ได้มีประกาศจากองค์การสหประชาชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่ทำงานด้านการต่อต้านการคอร์รับชั่น รานงานนี้ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในไทย โดยเชื่อมโยงประเด็นการคอร์รับชั่นที่ดาษดื่นกับความปลอดภัยของผู้ที่ทำงานด้ายการต่อต้านการคอร์รับชั่น
มีหลายกรณีมากๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำงานด้านการต่อต้านการคอร์รับชั่นที่ต้องถูกรัฐริดรอนสิทธิ ในบางกรณี บุคคลเหล่านี้ถูกทำร้าย อาทิ ในกรณีของสิริวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และเอกชัย หงส์กังวาน หรือในกรณีที่ถูกบังคับให้สูญหาย เช่น กรณีของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
Founder of 112WATCH, Pavin Chachavalpongpun, has written a report to respond to a call for inputs on the "Right to Freedom of Opinion and Expression: Opportunities, Challenges and Threats to Media in the Digital Age." The report has been sent to the office of the Special Rapporteur on the promotion and protection of freedom of opinion and expression. The call can be found here: