นิทรรศการ: โฉมหน้าเหยื่อ 112
112WATCH จะนำเสนอนิทรรศการ โฉมหน้าเหยื่อ 112 โดยใช้งานศิลปะในการเล่าเรื่องของมนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การเพิ่มสูงขึ้นของคตีที่มากมาตรา 112 ได้เริ่มเห็นได้อย่างชัดหลังการทำรัฐประหารในปี 2549 ที่ล้มรัฐบาลของคุณทักษิณ ชินวัตร จากนั้นเป็นต้นมา มาตรา 112 ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายล้างอริทางการเมือง และเมื่อวิกฤตการทางการเมืองของไทยเลวร้ายยิ่งขึ้น การใช้มาตรา 112 ก็ยิ่งใช้บ่อยขึ้นและตามอำเภอใจ
ในปี 2554 ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ได้เปิดตัวการรณรงค์ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 จากกรณีของ “อากง” จากนั้น สิบปีต่อมา สถานการณ์การใช้มาตรา 112 ไม่ได้ปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น การทำรัฐประหารล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำย่าลงไปอีก เริ่มแรก กษัตริย์วชิราลงกรณ์มีความต้องการที่จะรักษาภาพลักษณ์ โดยการสั่งให้มีการหยุดใช้มาตรา 112 ชั่วคราวในช่วงปี 2560 แต่หลังจาการประท้วงของเยาวชนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในปี 2563 ก็ได้มีการเอามาตรา 112 กลับมาใช้อีก เป็นความจงใจของรัฐไทยในการใช้มาตรา 112 ในการปิดปากผู้วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ การใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือแบบนี้ยังไม่จบสิ้น ผลกระทบที่มีต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนมีมาก และคดีที่มาจากมาตรา 112 ก็เพิ่มมากขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มีคนจำนวน 1,895 คนที่ต้องโทษคดีทางการเมืองจำนวน 1,180 คดี ในจำนวนนี้ มี 233 คนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ใน 253 ตดี ปัจจุบันนี้ ผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่โดดนคดีมาตรา 112 มีอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น
นี่เป็นเป็นห้วงเวลาสำคัญในการสร้างความตระหนักถึงปัญหาจากมาตรา 112 ต่อชุมชนระหว่างประเทศ ปวินได้จัดตั้งโครงการ 112WATCH เพื่อเป็นเวทีในการสร้างความตื่นตัวต่อประเด็นมาตรา 112 โดยพุ่งเป้าไปที่ชุมชนการทูตระหว่างประเทษ ซึ่งเป็นความพยายามไนการสร้างฉันทามติต่อปัญหามาตรา 112 ภารกิจสำคัญอยู่ที่การสร้างชุมชนพันธมิตรเพื่อรองรับแคมเปญเรื่อง 112 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหานี้ในไทย
นอกจากการสร้างชุนชมพันธมิตรแล้ว โครงการ 112WATCH ยังต้องการสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนถึงผลกระทบที่มาจากมาตรา 112 ต่อชีวิตของคนไทย ปวินเองก็เป็นหนึ่งในเหยื่อของมาตรา 112 ต้องคดีอาญา และไม่สามารถเดินทางกลับไทยได้ ต้องกลายมาเป็นผู้ลี้ภัย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีจำนวนเยาวชนไทยที่ต้องคดีมาตรา 112 มากขึ้น บางตนต้องถูกจองจำ ยางคนต้องหลบหนีออกนอกประเทศ อนาคตของเขาไม่แน่นอนเลย
112WATCH ขอนำเสนอนิทรรศการ “โฉมหน้าเหยื่อ 112” โดยใช้ศิลปะในการถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา 112 โดยนำเสนอทั้งสิ้น 25 คน ทั้งที่อยู่ในระหว่างการจองจำและลี้ภัยต่างประเทศ นำเสนอเรื่องราวของพวกเขา ความกลัว ความไร้ซึ่งความปลอดภัย รวมทั้งพลังและความหวังของเขา พวกเขาคิดอย่างไรกับมาตรา 112 พวกเขารู้สึกอย่างไรที่ถูกมองว่าเป็นศัตรูของชาติ เขาอยากได้ความช่วยเหลือแบบใดจากชุมชนระหว่างประเทศ
เรื่องราวของพวกเจาจะทำเป็นทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และจะมีการพิมพ์สีลงบนกระดาษและใส่ในกรอบรูป
นิทรรศการนี้จะมีขึ้นที่ LeRoy Neiman Gallery ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย คณะศิลปะศาสตร์ ที่อยู่ 1960 Broadway, New York City ตั้งแต่วันที่ 18-25 กันยายน วันเปิดงานและงานรับรองจะมีขึ้นวันที่ 18 กันยายน โดยมีปวินเป็นผู้กล่าวเปิดงาน นอกจากนี้ จะมีการจัดทำนิทรรศการสัญจรที่เมืองชิคาโก้ (10 กันยายน) และวอชิงตันดีซี (15 กันยายน) จะบอกรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งทางเพจของ 112WATCH
การจัดนิทรรศการนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของการขยายการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมกับศิลปินและรูปแบบศิลปะในหลายๆ แบบ เพื่อสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับผลของมาตรา 112 ต่อชีวิตคนไทยทั่วไป
PUBLIC VIEWING
September 18th-25th. 10:00AM – 5:00PM (closed weekend)
LEROY NEIMAN GALLERY
Columbia University – School of the Arts
2960 Broadway, Suite 310 Dodge Hall
New York City